ผลการดำเนินการบริการทางวิชาการและเทคนิค
การบริการทางวิชาการและเทคนิคที่ผ่านมา
การทดสอบเครื่องมือตรวจหาชนิดสารวัตถุระเบิดและสารเสพติดแบบมือถือ
วันที่ 19 ตุลาคม 2565 สทป. ให้บริการทดสอบเครื่องมือตรวจหาชนิดสารวัตถุระเบิดและสารเสพติดแบบมือถือของหน่วยงานภาคเอกชน ให้กับ ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กอ.รมน.
ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่5 กอ.รมน. (ศปป.5 กอ.รมน.) ขอความอนุเคราะห์ให้ สทป. ทดสอบเครื่องมือตรวจหาชนิดสารวัตถุระเบิดและสารเสพติดแบบมือถือระบบ RAMAN ของหน่วยงานภาคเอกชน ด้วยเทคนิครามานสเปกโทรสโคปี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในขั้นต้น สอดคล้องกับมาตรฐานการทดสอบเครื่องมือในลักษณะเดียวกันนี้ที่ส่วนงานราชการมีอยู่ และเพื่อเป็นทางเลือกของหน่วยงานราชการในการจัดหาไว้ใช้ปฏิบัติงานในพื้นที่จัดหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป โดยการทดสอบในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก พล.ท.ธัชพล เปี่ยมวุฒิ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กอ.รมน. เยี่ยมชมการทดสอบ ณ ห้องประชุม สกบ.กอ.รมน. อาคาร กอ.รมน.
การทดสอบเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด และสารเสพติดแบบมือถือ
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 ส่วนงานวิศวกรรมวัตถุระเบิด และนิวเคลียร์ เคมี ชีวะ และ ส่วนควบคุมคุณภาพและการมาตรฐาน ให้บริการทดสอบเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด และสารเสพติดแบบมือถือจำนวน 5 เครื่องให้กับ บริษัท กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทีเกรชั่น ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทย
โดย สทป. ได้ให้บริการทดสอบเป็นระยะเวลา 2 วัน ได้แก่วันที่ 9 และ12 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ ชั้น 10 อาคารไคตัค โดยมีฝ่ายบริการทางวิชาการและเทคนิค และส่วนพัฒนาธุรกิจเชิงพาณิชย์ เข้าร่วมติดตามการให้บริการเพื่อพัฒนาการให้บริการทางวิชาการและเทคนิคของสถาบันฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
การทดสอบมาตรฐานการใช้งานเครื่องตรวจยืนยันสารระเบิดและสารเสพติดแบบเทคนิครามานสเปกโทรมิเตอร์
อพวช. ขอใช้บริการเครื่องมือสำหรับการทดสอบสิ่งประดิษฐ์ CANSAT
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) จัดการแข่งขัน Thailand CANSAT-ROCKET Competition 2021 ซึ่งได้มีการคัดเลือกทีมเยาวชน จำนวน 15 ทีม โดยกำหนดจัดการแข่งขัน “Thailand CANSAT-ROCKET Competition 2021 รอบชิงชนะเลิศ” เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เยาวชนสนใจค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ และเป็นการต่อยอดสู่การเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ในอนาคต